สถานที่ตั้ง อาคารช่อตะแบก เลขที่ 13 หมู่ 14 ตำบลสงเปลือย อำเภอนามน จังหวัดกาฬสินธุ์ 46230 โทร 043-602043 ต่อ 541 ปรัชญา
คณะบริหารธุรกิจ จะดำรงไว้ซึ่่งคุณภาพ ของบัญฑิตที่มีความรับผิดชอบต่อชุมชนและภูมิปัญญาท้องถิ่น เสริมสร้างคุณธรรมและมูลค่าเพิ่ม เพื่อการพัฒนาในศาสตร์อย่างยั่งยืน
วิสัยทัศน์
มีความเป็นเลิศในการผลิตบัณฑิตบริหารธุรกิจ เพื่่อเสริมสร้างมูลค่าเพิ่มให้ภูมิปัญญาท้องถิ่น To be the Best Graduated Business School for Local Wisdom Values Creation
พันธกิจ
1. ผลิตบัณฑิตทางด้านบริหารธุรกิจที่มีคุณภาพและพร้อมรับใช้สังคมและประเทศชาติ 2. ศึกษาวิจัยเพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่ด้านบริหารธุรกิจและประยุกต์องค์ความรู้เพื่อนำไปใช้ในการพัฒนาท้องถิ่นและประเทศ 3. บริการวิชาการและถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการจัดการและกระจายโอกาสไปสู่ผู้แสวงหาโอกาสทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัยและเชื่อมโยงเครือข่ายภูมิปัญญาท้องถิ่นสู่สากล 4. ทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม รวมทั้งเสริมสร้างและพัฒนาคุณธรรมจริยธรรม 5. พัฒนาระบบบริหารจัดการโดยยึดหลักธรรมาภิบาล
ประเด็นยุทธศาสตร์ เป้าประสงค์ กลยุทธ์และตัวชี้วัด
ยุทธศาสตร์การพัฒนาที่ 1 ด้านการผลิตบัณฑิต และพัฒนาคุณภาพบัณฑิต เป้าประสงค์การพัฒนา : บัณฑิตของคณะบริหารธุรกิจ เป็นบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญทางด้านการบริหารจัดการ มีคุณธรรม และมีความคิดสร้างสรรค์ ตอบสนองความต้องการของตลาดแรงงาน และสามารถแข่งขันในประชาคมอาเซียน กลยุทธ์ :
พัฒนาศักยภาพศักยภาพอาจารย์ผู้สอนให้มีคุณภาพและศักยภาพในระดับสากล
พัฒนาศักยภาพนักศึกษาให้เป็นผู้มีคุณธรรม จริยธรรม คิดเชิงสร้างสรรค์ และทำได้
พัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ทรัพยากรการเรียนรู้ และเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ
ยุทธศาสตร์การพัฒนาที่ 2 ด้านการวิจัย และพัฒนาองค์ความรู้สู่ท้องถิ่นและประเทศ เป้าประสงค์การพัฒนา : ผลงานวิจัย และองค์ความรู้ รวมทั้งนวัตกรรมที่เกิดจากการวิจัยของคณะบริหารธุรกิจ มีคุณภาพ และเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของท้องถิ่นและประเทศชาติ เพื่อเตรียมความพร้อมรองรับการเปลี่ยนแปลงในอนาคต กลยุทธ์ :
พัฒนาระบบด้านการบริหารจัดการงานวิจัยแบบมีส่วนร่วมและมีคุณภาพ
ส่งเสริมสนับสนุนและสร้างแรงจูงใจให้บุคลากรสร้างผลงานวิจัยและนวัตกรรมและตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารวิชาการระดับชาติและนานาชาติ
สร้างเครือข่ายการวิจัยและนวัตกรรมทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย
ยุทธศาสตร์การพัฒนาที่ 3 ด้านบริการวิชาการ เป้าประสงค์การพัฒนา : เป็นศูนย์กลางการบริการวิชาการสู่ชุมชน สังคม และท้องถิ่น กลยุทธ์ : ชุมชน สังคมและท้องถิ่นได้รับประโยชน์จากการบริการวิชาการทางด้านบริหารจัดการ
พัฒนากฎ ระเบียบ และข้อบังคับการให้บริการวิชาการที่เอื้อต่อการแข่งขัน
สร้างและพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือในการบริการวิชาการแก่ภาคอุตสาหกรรมและสังคม
พัฒนาสมรรถนะของบุคลากรในการให้บริการวิชาการอย่างมืออาชีพ
ยุทธศาสตร์การพัฒนาที่ 4 ด้านการเชื่อมโยงศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นสู่สากล เป้าประสงค์การพัฒนา : ชุมชน สังคมและท้องถิ่นได้รับประโยชน์จากการ เชื่อมโยงศิลปวัฒนธรรม และ ภูมิปัญญาท้องถิ่น สู่สากล กลยุทธ์ : 1. สืบสานและเผยแพร่ศิลปวัฒธรรม อัตลักษณ์ และภูมิปัญญาไทยสู่สังคมไทยและสังคมโลก 2. ส่งเสริมให้เกิดมูลค่าเพิ่มของศิลปวัฒธรรมและภูมิปัญญาไทยสู่สากล ยุทธศาสตร์การพัฒนาที่ 5 ด้านการบริหารจัดการด้วยหลักธรรมาภิบาล (Management) เป้าประสงค์การพัฒนา :คณะบริหารธุรกิจ มีระบบบริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาล โดยมุ่งผลสัมฤทธิ์ของพันธกิจโดยการมีส่วนร่วมของบุคลากรเป็นสำคัญและเหมาะสม ต่อการเปลี่ยนแปลงในอจารคต กลยุทธ์ :
พัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ระเบียบ ข้อบังคับ ของคณะที่มุ่งเน้นความคล่องตัว มีประสิทธิภาพ เน้นการมีส่วนร่วม โปร่งใสและตรวจสอบได้
พัฒนาความก้าวหน้าของบุคลากรโดยยึดหลักสมรรถนะเป็นฐาน (Competency)
พัฒนาระบบสารสนเทศรองรับการบริหารจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ คุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ เพื่อให้การจัดการศึกษาของคณะบริหารธุรกิจบรรลุวัตถุประสงค์ตามพันธกิจของมหาวิทยาลัย จึงกำหนดคุณลักษณะ ของบัณฑิตที่พึงประสงค์ ดังนี้ 1. มีความรู้และทักษะในสาขาวิชาที่ศึกษา สามารถใช้ประกอบอาชีพได้ 2. มีคุณธรรม จริยธรรม รับผิดชอบ และซื่อสัตย์ในวิชาชีพ 3. มีความคิดสร้างสรรค์ ใฝ่รู้ ศึกษาอย่างต่อเนื่อง สามารถคิดและวิเคราะห์อย่างมีเหตุผล 4. มีความสามรถในการใช้ภาษาไทยได้เป็นอย่างดี และสามารถใช้ภาษาต่างประเทศในการสื่อสารได้ 5. มีความรู้ มีทักษะ สามารถใช้เทคโนโลยีต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ 6. มีวิจารณญาณ สามารถบูรณาการภูมิปัญญาท้องถิ่นกับปัญญาสากลในการแก้ปัญหาได้ 7. มีสุขภาพและบุคลิกดี มีโลกทัศน์กว้างไกล ยอมรับการเปลี่ยนแปลงของสังคม 8. มีจิตสำนึกดี เป็นประชาธิปไตย เสียสละ สามารถทำงานแทนผู้อื่นได้ และเห็นประโยชน์ส่วนรวมเป็นสำคัญ 9. เป็นพลเมืองดี มีความตระหนักต่อการพัฒนาตนเอง พัฒนาอาชีพและเป็นผู้นำการพัฒนาท้องถิ่น